วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลาแซลมอน GMO

ปลาแซลมอน  GMO
           เอฟดีเอรับรองความปลอดภัย ปลาแซลมอนพันธุ์ใหม่ที่เอกชนในสหรัฐฯ พัฒนาขึ้น โตเร็วกว่าแซลมอลธรรมชาติสองเท่าแต่คุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างเตรียมจัดประชุมสาธารณะหาข้อสรุปก่อนผลิตสู่ตลาดด้านองค์กรไม่แสวงหากำไรคัดค้านพร้อมเรียกร้องให้ศึกษาระดับคลินิกทดสอบผลข้างเคียงต่อสุขภาพคนบริโภค
            ปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMO) ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้มีชื่อทางการค้าว่า "แอดเวนเทจ แซลมอน" (AquAdvantage salmon) ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมโดยอะควา เบาที เทคโนโลจีส์ อิงค์ (Aqua Bounty Technologies Inc.) มีคุณสมบัติโตเร็วเป็น2เท่าของปลาแซลมอนแอตแลนติกโดยทั่วไป





     นับว่าสำคัญอย่างยิ่งต่ออะควาเบาทีที่เป็นเพียงบริษัทเล็กๆ แต่สามารถตอกเสาเข็มของอนาคตไว้บนเทคโนโลยีได้ และหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ให้ข้อคิดเห็นต่อเรื่องนี้ในทางบวกเมื่อวันที่3ก.ย.ที่ผ่านมาอะควาเบาทีก็สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดแซลมอนได้เป็น26%หลังจากให้การรับรองความปลอดภัยไปแล้ว รอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (Food and Drug Administration : FDA) เตรียมจะจัดการประชุมสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมเป็นเวลา 3 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. นี้ ซึ่งการประชุมนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาปลาเทราท์และปลานิลดัดแปรพันธุกรรมในอนาคตด้วย


         
          เจ้าหน้าที่ของเอฟดีเอกล่าวว่าปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมนั้นปลอดภัยสำหรับการนำมาบริโภคเป็นอาหารเทียบเท่ากับปลาแซลมอนที่จับได้จากมหาสมุทรแอตแลนติก โดยไม่มีความแตกต่างทางชีวภาพที่สำคัญในด้านวิตามินแร่ธาตุหรือกรดไขมันแต่อย่างใด
ผู้เชี่ยวชาญจากเอฟดีเอยังระบุด้วยว่าปลาแซลมอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีชีวภาพนี ้นั้นเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งที่จะส่งผลกระทบใดๆที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อกังวลของนักวิเคราะห์ที่ว่า ปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมพวกนี้จะหลุดออกมาจากสถานที ่เพาะเลี้ยงและไปแพร่พันธุ์ในธรรมชาติได้นั้นมีโอกาส เกิดขึ้นได้น้อยมากๆ เพราะมีมาตรการควบคุมไว้อย่างซับซ้อน อีกทั้งปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้ก็เป็นหมัน และทางบริษัทผู้ผลิตเองก็มีแผนที่จะจำหน่ายเฉพาะไข่ปลาตัวเมียเท่านั้น
อะควาเบาทีระบุว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นองค์กรด้านการประมง ของนานาชาติ และลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำประมงมากเกินไปทว่าผู้ที่ให้การสนับสนุนผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอาหารกังวลว่าการตัดและต่อยีนของปลาใหม่อาจก่อให้เกิดผลตรงกันข้ามโดยอาจนำไปสู่อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาตัดต่อพันธุกรรมมากขึ้นและทำให้ปลาพวกนี้มีโอกาสหลุดออกไปสู่ธรรมชาติได้สูงขึ้นผลข้างเคียงจากการบริโภคปลาจีเอ็มนั้นก็ยังไม่มีใครล่วงรู้ส่วนที่บอกว่าปลอดภัยนั้นก็มาจากข้อมูลเพียงน้อยนิด"ที่จริงแล้วเอฟดีเอทึกทักเอาว่าปลานี้ปลอดภัยที่จะบริโภค" ข้อคิดเห็นจากเจย์ดีแฮนสัน (Jaydee Hanson) นักวิเคราะห์นโยบาย ศูนย์ความปลอดภัยทางอาหาร (Center for Food Safety) ซึ่งเขายังบอกอีกว่า การทดสอบของบริษัทที่ผลิตปลาแซลมอนนี้ขึ้นมานั้นเป็น เพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่เล็กที่สุดของงานวิจัยด ้านการประมงที่เขาเคยเห็นมาแล้ว เช่น วิเคราะห์โอกาสทำให้เกิดอาการแพ้จากตัวอย่างปลาเพียงแค่6ตัว แฮนสันบอกว่าทางบริษัทควรจะศึกษาในปลาจำนวนมากกว่านี้และควรทำการทดลองระดับคลินิกด้วยเพื่อทดสอบการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยแฮนสันจะไปร่วมพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ค้านกับการเห ็นชอบจากเอฟดีเอในการ ประชุมสาธารณะที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
   

                       ปลาแซลมอนดัดแปลงพันธุกรรม (แซลมอน GM) ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว หรือที่มีชื่อเรียกว่า AquAdvantage ของบริษัท AquaBounty สำหรับการอนุญาตให้เลี้ยงปลาแซลมอน GM ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัตว์ GM ชนิดแรกที่จะได้รับอนุญาตเพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์นั้น FDA ยังต้องใช้เวลาในการพิจารณาถึงความปลอดภัยอีกระยะ หนึ่ง ในปจั จุบัน สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งกันมากในประเทศสหรัฐฯ นัก วิจารณ์หลายท่านได้กล่าวว่า เทคโนโลยี GMOs และเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนมีความเห็นว่าเทคโนโลยี GMOs มีความจำเป็นสำหรับการเพิ่มแหล่งอาหารให้กับโลก จากข้อโต้แย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้การรับรองความปลอดภัยปลาแซลมอน GM ชนิดแรกโดย FDA นำไปสู่ข้อสงสัย และข้อวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นเวลาอีกหลายปีข้างหน้า
                      
               อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนต้อง ไตร่ตรองให้รอบคอบถึงมาตรฐาน ความปลอดภัยของปลาแซลมอน GM ที่จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหาร เพราะ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ภายหลังจากรับประทานปลาแซลมอน GM นั้น ไม่สามารถจะใช้คำแก้ต่าง ใดๆ มาชดเชยสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ที่ เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วไม่ควร รับประทาน (กรณีผู้บริโภคเกิดอาการ ภูมิแพ้) หรือปลาแซลมอน G M อาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ (กรณีเมื่อผู้บริโภคเกิดอาการเซลล์ใน ร่างกายเจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กลุ่มผู้โต้แย้งมีความกังวลและต้องการให้สามารถพิสูจน์ ถึงความปลอดภัยของปลาแซลมอน GM เมื่อเทียบกับปลาแซลมอนตามธรรมชาติ ดังนั้น ปลาแซลมอน GM ชนิดแรกนี้ จะต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนที่จะได้รับ อนุญาตให้เลี้ยงเป็นการค้าได้ ดังเช่นข้อเสนอแนะของ Michael Hansen จากสหพันธ์ผู้บริโภค (Consumer Union) ซึ่งมี รายละเอียดแสดงในเว๊ปไซด์ http://www.consumersunion.org/pdf/CU-comments-GE-salmon-0910.pdf
          ข้อเสนอของ Michael Hansen มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ FDA หาวิธีการตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มเติมหรือมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นใน 3 ด้านที่สำคัญ คือ การก่อให้เกิดภูมิแพ้ ผลกระทบจากฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของ growth factor ชนิด IGF-1 เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยสูงสุดจากการรับประทานปลาแซลมอน GM เนื่องจากเขา มีข้อสงสัยถึงผลการสรุปการประเมินความปลอดภัยของปลาแซลมอน GM จากFDA(http://www.fda.gov/downloads/ AdvisoryCommittees/CommitteesMeetingMaterials/VeterinaryMedicineAdvisoryCommittee/UCM224762.pdf) ที่ใช้ จำนวนตัวอย่างในการทดสอบน้อยเกินไป (ดังรายละเอียดในรายงานของ FDA หน้า 98-100) เครื่องมือหรือวิธีการ ตรวจจับปริมาณฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตมีประสิทธิภาพในการตรวจจับต่ำ (ดังแสดงในตารางที่ 15 ของรายงานผล การตรวจสอบจาก FDA) และผลการตรวจสอบที่ไม่แตกต่างกันของปริมาณ growth factor ชนิด IGF-1 ระหว่าง ปลาแซลมอน GM และไม่ใช่ GM (ดังแสดงในตารางที่ 16 ของรายงานจาก FDA) จากข้อคิดเห็นของ Michael Hansen ที่มีต่อรายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัยในปลาแซลมอน GM ของ FDA ในครัง้นี้ อาจจะทำให้การพิจารณาอนุญาตให้บริษัท AquaBounty ซึ่งเป็นผู้เพาะเลี้ยงปลาแซลมอน GM อย่างเป็นการค้าที่มีชื่อว่า AquAdvantage ต้องขยายเวลาการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดออกไปอีก 2-3 ปี เพื่อสร้างความ มัน่ ใจให้กับผู้บริโภค และหาวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมชนิดอื่นๆที่จะได้รับอนุญาตให้ เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์ในอนาคตต่อไป